อำนาจหน้าที่

สภาเกษตรกรแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งแก่เกษตรกร และองค์กรเกษตรกร ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การผลิต การแปรรูป การตลาด และการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม

  2. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบายและแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ระบบวนเกษตร ระบบเกษตรธรรมชาติ ระบบไร่นาสวนผสม ระบบเกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรรมรูปแบบอื่น

  3. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร การพัฒนาเกษตรกรรม รวมทั้งการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  4. เสนอแผนแม่บทต่อคณะรัฐมนตรี

  5. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านพันธุกรรมพืชและสัตว์ท้องถิ่น ผลผลิตทางเกษตรกรรม และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปผลผลิตทางเกษตรกรรม

  6. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดแนวทางการประกันความเสี่ยงของราคาและผลผลิตทางเกษตรกรรม รวมทั้งการกำหนดสวัสดิการให้แก่เกษตรกร

  7. เสริมสร้างความร่วมมือ และประสานงานกับภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาเกษตรกรรม

  8. พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกร

  9. ให้ความเห็นต่อนโยบาย กฎหมาย หรือข้อตกลงที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อเกษตรกร

  10. ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่เกษตรกร องค์กรเกษตรกร และตามที่สภาเกษตรกรจังหวัดเสนอ

  11. แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษาตามความจำเป็น

  12. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาเกษตรกรแห่งชาติ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

Authority and Function

  1. Propose the cabinet to formulate policy on promotion and strengthening of farmers and farmer organizations in line with the philosophy of sufficiency economy, production, processing, marketing, and protection of agricultural land.

  2. Propose the cabinet to formulate policy and guideline on promotion and development of integrated farming, agro-forestry system, natural agriculture system, mixed farming system, organic agriculture system, and other agriculture types.

  3. Give advice and proposition to the cabinet to solve farmer problems, agricultural development and conservation and utilization of natural resources and environment.

  4. Propose the master plan on agricultural development to the cabinet.

  5. Propose the cabinet to formulate guideline on promotion and support of research and development of knowledge on local plant and animal genetic, agricultural products and agricultural processing products.

  6. Propose the cabinet to set up measures for ensuring agricultural price and product risk, including farmer welfares.

  7. Strengthen collaboration and coordination with the government sector and the private within the country and abroad and the international organizations for agricultural development.

  8. Develop and strengthen farmers and farmer organizations.

  9. Provide recommendation on policy, laws or related agreements that have impact on farmers.

  10. Give advice and recommendation to farmers, farmer organizations and that proposed by the provincial farmer councils.

  11. Appoint committee, sub-committee, working group, or adviser as necessary.

อำนาจหน้าที่สภาเกษตรกรจังหวัดสิงห์บุรี มาตรา ๓๓ ดังต่อไปนี้

  1.  พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรภายในจังหวัด

  2. ประสานนโยบายและดำเนินงานระหว่างองค์กรเกษตรกร เกษตรกร สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐ

  3.  ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และยุวเกษตรกร ในจังหวัดรูปแบบต่างๆ

  4.  เสนอแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อบูรณาการเป็น แผนแม่บทเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

  5. สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาการฝึกอบรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและยุวเกษตรกร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างครบวงจรและยั่งยืน

  6.  เสนอนโยบายและแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม รวมทั้งราคาผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ไม่เป็นธรรมต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติ

  7.  ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกร

  8.  แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการใดๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัตินี้

  9.  ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากสภาเกษตรกรแห่งชาติ                                                

อำนาจหน้าที่สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสิงห์บุรี มาตรา ๓๘ ดังต่อไปนี้ 

  1. รับผิดชอบงานด้านธุรการ และทำหน้าที่เป็นเลขานุการของสภาเกษตรกรแห่งชาติ

  2. รวบรวม ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด

  3.  ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร และองค์กรเกษตรกรได้ทราบถึงนโยบาย แผนพัฒนาเกษตรกรรมจังหวัดและการดำเนินงานของสภาเกษตรกรจังหวัด 

  4. จัดให้มีระบบฐานข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ผลการวิจัยและองค์ความรู้เกี่ยวกับ การผลิต การแปรรูป ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม รวมทั้งการตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

  5. ประสานการดำเนินงานกับเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

  6. จัดทำรายงานประจำปีของสภาเกษตรกรจังหวัด

  7. ปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสภาเกษตรกรจังหวัดมอบหมาย

นายวัฒนศักดิ์ สงวนสุข
ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสิงห์บุรี
นายยศพรรดิ์ รัตนอังศิริกุล
หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสิงห์บุรี